ดนตรีพื้นบ้านกับวัฒนธรรม   วัฒนธรรม  มาจากคำว่า (Culture)ในภาษาอังกฤษ
ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคือ  “Cultura”  หมายถึงการเพาะปลูกหรือการปลูกผัง
                   พระเทพเวที  (ประยุทธิ์  ปยุตโต)  ได้ให้ความหมายของคำว่า วัฒนธรรม  เนื่องในวันโอกาสปาถกฐาพิเศษ  100  ปี  พระยาอนุมานราชทน  เรื่องวัฒนธรรมกับการพัฒนา 
เมื่อวันที่  14  ธันวาคม  พ.ศ.  2531  ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
                   วัฒนธรรมคือ  ผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์  และภูมิธรรม  ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้น  ซึ่งรวมทั้งความรู้  ความเชื่อ  ศิลปะ  กฎหมาย  ศีลธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณี  และความสามารถและนิสัยอื่น ๆ ของสมาชิกในสังคม
                    ตามที่กล่าวมาแล้วว่า  ดนตรีพื้นบ้าน  หมายถึง  ความรู้ที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านในการใช้ภูมิปัญญา  สภาวะเครื่องดนตรีต่าง ๆ  และนำเอาภูมปัญญาดังกล่าวมาถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลัง  นอกจากนั้นดนตรียังเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ เช่น ผีฟ้า  ผีแถม   ซึ่งเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม   ดังนั้นดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมด้วย

ลักษณะเพลงพื้นบ้านของไทย 

เพลงพื้นบ้านของไทย   เป็นศิลปะการละเล่นที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน
 เพื่อความสนุกสนานและประกอบพิธีกรรมของชาวบ้าน  เพลงพื้นบ้านของไทยทั้งเพลงขับร้องและบรรเลง ( สุกรี  เจริญสุข.   2532  :  84-85 )  มีลักษณะดังนี้
                   1. เพลงพื้นบ้านมีลักษณะเป็นเพลงร้องที่ผูกขึ้น  โดยอาศัยฉันทลักษณ์ของกลอนตลาด  และร่ายยาว  หรือเรียกว่า  ฉันทลักษณ์ของชาวบ้านได้แก่  แหล่เสภา   เพลงยาว หรือแม้แต่ร่ายยาวของพระเทศน์  ซึ่งเพลงพื้นบ้านนี้ไม่มีดนตรีประกอบ  ถ้าจะมีก็อาจปรบมือหรือเป็นเครื่องประกอบจังหวะเช่น  กรับ  ฉาบ  ฉิ่ง  กลอง
                    2. เพลงพื้นบ้านมีทำนองสั้น ๆ ซ้ำ ๆ วกไปเวียนมา  โดยเปลี่ยนเนื้อร้องไป
เรื่อย ๆ เข้าหลักที่ว่า  ร้อยเนื้อทำนองเดียว  อาจจะเป็นการร้องเดี่ยว  หรือมีลูกคู่ประกอบ
                    3. เนื้อเรื่องมีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด   เพลงที่นำมาผูกขึ้น  โดยอาศัย
ฉันทลักษณ์นั้นจะต้องมีความหมายเป็นเรื่องเป็นราว  ส่วนใหญ่จะเป็นนิทานสอนใจ  คติธรรมเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา  ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน  ความรัก  ความรื่นเริง  การทำงานเป็นต้น
                     4. เครื่องดนตรี  ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีประเภทจังหวะ  ซึ่งอาจจะเป็น  ฉาบ  ฉิ่ง  กรับ โหม่ง  โทน  กลองรำมะนา   กลองยาว  เครื่องดนตรีอื่นที่ใช้บรรเลงจะมี  พิณ  แคน  โปงลาง  โหวด เป็นต้น  เมื่อมีจังหวะประกอบกับการขับลำนำ  เครื่องดนตรีที่สามารถบรรเลงทำนองได้ก็จะบรรเลงประกอบคลอไปกับแนวลำนำ
                      5. แนวนิยมในการบรรเลงเพลงพื้นบ้านระบบชาวบ้านนั้น   การเล่นผสมวงจะเป็นทางใดก็สามารถบรรเลงได้ตามความถนัด  ไม่มีแบบแผนที่รัดกลุมนัก  เพียงแต่นัดหมาย หรือเข้าใจกันในระบบ  ดังนั้นการบรรเลงของชาวบ้านจึงเป็นแบบตามสะดวกกล่าวคือ  ใครมีความสามารถอะไรก็จะเล่นอย่างนั้น